1. เปิด-ปิดด้วยการใช้มือ (Manual หรือ Mechanical)
การเปิด-ปิดด้วยวิธีนี้สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ชนิด
- แบบพวงมาลัย
- แบบพวงมาลัยชนิดตอกได้
- แบบด้ามต่อ (Lazy Rod)
ยิ่งรัศมีของพวงมาลัยใหญ่ ยิ่งใช้แรงในการ เปิด-ปิด วาล์วน้อย แต่การต่อด้ามจนยาวเกินไปอาจทำให้มีผลเสียต่อชิ้นส่วนภายในวาล์วได้, ก้านวาล์วอาจกลึงโดยใช้เกลียวเดี่ยวหรือเกลียวคู่ (Single or Double Thread) ซึ่งหากใช้แบบเกลียวคู่ หรือ แบบ Double จะเปิด-ปิดได้เร็วกว่าแบบเกลียวเดียว หรือ แบบ Single แต่จำเป็นต้องให้รัศมี Hand Wheel มีขนาดใหญ่กว่ากว่า
2. เปิด-ปิด ด้วยการใช้ระบบมอเตอร์ไฟฟ้า (Motorized-Electrical System)
วิธีนี้มักจะพบเห็นได้มากที่สุดตามโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ และส่วนใหญ่จะใช้กับวาล์วที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจาก Motor มีรอบสูงและเพื่อป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการปิดแรงที่มีรอบสูง จึงจำเป็นต้องทดรอบลงมาโดยใช้เกียร์ทดรอบ และเพื่อป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการปิดแรงมากเกินไป เช่น หน้าวาล์วพัง จึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ควบคุมแรงบิด (Torque Limiter) หรือ (Shear Pin) มาเพื่อป้องกันความเสียหาย
3. เปิด-ปิดด้วยการใช้ระบบนิวมาติก หรือ ระบบกระบอกสูบลม (Pneumatic Actuator System)
การเปิดปิดด้วยระบบนี้จะแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด
3.1 ชนิดแผ่น (Diaphragm)
- วิธีนี้จะทำงานโดยใช้ความดันลมอัดมาที่แผ่น Diaphragm เนื่องจาก Diaphragm มีพื้นที่มากจึงต้องการความดันลมต่ำๆ ก็ทำงานได้ แต่แผ่น Diaphragm นั้นจะสามารถเคลื่อนที่ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากว่าหากเคลื่อนที่มากเกิดไปจะเกิดการฉีก
3.2 ชนิดลูกสูบ (piston)
- วิธีนี้จะทำงานโดยใช้ความดันลมสูง เพราะพื้นที่หน้าตัดน้อยแต่สามารถเคลื่อนที่ยาวๆได้ โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้กับ Butterfly Valve หรือ Ball Valve
สำหรับชนิด Diaphragm นั้นอาจใช้ Spring ช่วยเพื่อให้ทำงานรวดเร็วขึ้น โดยสามารถออกแบบให้มีลักษณะการทำงานต่างๆ กันดังนี้
- ใช้ Spring เปิด – ใช้ลมปิด Valve
- ใช้ Spring ปิด – ใช้ลมเปิด Valve
- ใช้ลมเปิด – ใช้ลมปิด Valve
4. เปิด-ปิดด้วยการใช้ระบบไฮดรอลิก (Hydraulic Actuator System)
วิธีนี้จะเป็นระบบที่คล้ายๆ กับระบบกระบอกสูบลม (Pneumatic Actuator System) แต่จะใช้น้ำมันแทนลม นอกจากนั้นยังต้องประกอบด้วย Spring ซึ่งจะเป็นตัวยันกลับ
5. เปิด-ปิดด้วยการใช้ระบบโซลินอยด์ (Solinoid Actuator System)
โซลินอยด์ (Solenoid Actuator) คือ การปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปในขดลวด ซึ่งจะไปเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็ก (Magnetic Field) ไปยกตัววาล์วได้
การใช้งานนั้นจะใช้ได้เฉพาะของไหลที่มีความดันและอุณหภูมิต่ำ ระยะเวลาการทำงานเป็นช่วงสั้นๆ เพราะถ้านานเกินจะมีโอกาสไหม้ เนื่องจากความร้อนในขดลวดสูง ดังนั้นระบบนี้จึงนิยมใช้กับวาล์วขนาดเล็กๆ (ประมาณ 1/16 นิ้ว – 1 นิ้ว) เพื่อเปิด-ปิด น้ำ, น้ำมัน, หรือ ก๊าซ และส่วนใหญ่จะพบเห็นในงานที่เป็นวาล์วตัดตอนหรือควบคุมระยะเวลาสั้นๆ เช่น ในระบบระบายขี้เถ้าของโรงไฟฟ้าถ่านหิน
การทำงานสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
- โดยปกติ เปิด (เวลามีไฟป้อนเข้า เปิด)
- โดยปกติ ปิด (เวลามีไฟป้อนเข้า ปิด)